วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผีบ้านผีเรือน

ลักษณะต่างจากผีทั่วไปคือ จะอยู่ในรูปของวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่เจ้าบ้านเคารพกราบไหว้ จะคอยคุ้มครองผู้อยู่อาศัยในบ้าน เมื่อถึงเทศกาลเช่นปีใหม่หรือวันเกิด เจ้าบ้านที่มีความเชื่อจะทำการเซ่นไหว้ ลักษณะรูปร่างจะเหมือนคนปกติ ใส่ชุดไทย บ้างก็ว่า ผีบ้านคือผีประจำหมู่บ้าน ส่วนผีเรือนก็คือผีประจำเหย้าเรือน และเรียกรวมกันว่าผีบ้านผีเรือ

ผีอำ

คำเอ่ยของคนที่คิดว่าถูกผีหลอกในขณะนอนครึ่งหลับครึ่งตื่น มีอาการที่รู้สึกแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หรือขยับตัวไม่ได้ในขณะนอน หรือนั่งเหมือนมีคนมานั่งทับบนตัว ว่ากันว่า เกิดจากการนั่ง หรือนอนผิดท่า ทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท ทำให้ขยับตัวไม่ได้

ทางแพทย์อธิบายว่าเกิดจากการ ที่สมองตื่นไม่พร้อมกัน

สมองเรานั้นมีบริเวณต่างๆ ที่ทำหน้าที่ต่างๆ บริเวณด้านหน้าจะทำหน้าที่สั่งให้เคลื่อนไหว ส่วนรับความรู้สึกนี่จะเป็นแกนกลาง กับด้านค่อนมาหลังหน่อย

เวลาเราตื่นสมองจะมีกระแสไฟฟ้าเป็นตัวทำงาน เวลาเราหลับกระแสเหล่านี้ก็ลดลง (เข้าสู่ระยะพัก) ดังนั้นเมื่อเราตื่น ถ้าบริเวณรับความรู้ตัวตื่น แต่บริเวณสั่งการเคลื่อนไหวยังไม่ตื่น ก็เป็นอาการผีอำ แต่ก็มี โรคบางโรคที่มีลักษณะเหมือนกันนี้เรียกว่า Lockin Syndrome จะรู้ตัวแต่ขยับอะไรไม่ได้ ได้แต่กลอกลูกตาไปมา

[แก้] อาการของผู้ที่ถูกผีอำว่ากันว่า เวลาที่เราใช้หลับนอนในตอนกลางคืนนั้น ระยะเวลาครึ่งแรกของกลางคืน คือระยะตั้งแต่หัวค่ำถึง 2 ยาม เป็นเวลาที่นอนหลับสนิทแล้วจะได้พลังงานและเป็นสุขมากกว่าระยะเวลานอนในครึ่งหลังของเวลากลางคืน

เวลานอนตั้งแต่ 2 ยามล่วงไปแล้ว จะนอนหลับไม่ค่อยสนิทนัก คนเราจึงมักจะฝันในระยะครึ่งหลัง ของเวลากลางคืน และส่วนมากจะฝันได้มากในเวลาก่อนใกล้รุ่ง ความฝันมักเกิดขึ้นเมื่อเวลานอนหลับไม่ค่อยสนิท ซึ่งจะเป็นการแสดงออกมาของจิตใจ ความฝันจะช่วยให้ได้สิ่งซึ่งต้องการที่เวลาตื่นอยู่ไม่อาจได้ ความฝันจะช่วยให้ เราเป็นผู้มีอำนาจ มีเงิน บางทีความฝันก็แสดงออกมาถึงจิตใจและอารมณ์ที่มีอยู่ เช่น ความวิตกหวาดกลัว ความไม่พึงพอใจ ความเศร้าสลด ฯลฯ ก็จะมีฝันร้าย

ถ้านอนฝันแล้วออกเสียงมาด้วยก็เรียกกัน ละเมอ มีการนอนฝันที่ครึ่งหลับครึ่งตื่น อีกอย่างหนึ่งเรียกกันว่า ผีอำ คงมีคนเคยถูกผีอำมาบ้าง เวลาที่นอนอใกล้จะหลับ หรือหลับแล้วกำลังจะตื่น เป็นตอนที่รู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง เกิดความฝันลางเลือน เหมือนมีของมาทับอก หายใจไม่ออก ชาไปทั้งตัวรู้สึกตัวว่าตัวลืมตาเห็นอะไรๆอยู่ แต่กระดุกกระดิกตัวไม่ได้ ร้องเรียกให้ใครช่วยก็ไม่มีใครได้ยิน ต่อมาสักครู่หนึ่งจึงจะรู้สึกตัว ลักษณะอาการดังกล่าวนี้เรียกกันว่า ผีอำ

[แก้] ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผีอำความจริง ไม่มีผีสางอะไรมาอำหรือมาทำอย่างไรทั้งนั้น

ถ้าจะเข้าใจเรื่องถูกผีอำนี้ ควรเข้าใจก่อนว่า ตามปรกติแล้วเลือดของเราจะมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ และมีฤทธิ์คงที่เสมอในเลือดจะมี โซเดียมไบคาร์บอเนตซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง และกรดคาร์บอนิค ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดอยู่ โดยมีอัตราส่วนคงที่ที่จะทำให้เลือดอยู่ในสภาพเป็นด่างอ่อนๆ ตามปรกติตลอดเวลา

ผีอำ มักจะเกิดขึ้นในคนที่มีอารมณ์เครียด โดยมี โกรธ โลภ หลง เศร้าสลด วิตกกังวล หวาดระแวง กลัว อิจฉาริษยา ฯลฯ เมื่อเวลานอนเคลิ้มๆ(จะหลับหรือตื่น) ก็จะเกิดความฝันจากอารมณ์ไม่ดีของตน การมีอารมณ์ไม่ดีจะทำให้หายใจเข้าออกยาวๆเหมือนหอบ การหายใจเข้าออกเหมือนหอบสักพักหนึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์จะสลายตัวออกมาจากกรดคาร์บอนิคในเลือด เมื่ออกมามาก กรดคาร์บอนิคลดน้อยลง อัตราส่วนของด่างก็จะมีมากกว่ากรด เลือดก็จะมีฤทธิ์ด่างเพิ่มขึ้น

เมื่อเลือดมีฤทธิ์ด่างมากขึ้น ก็จะมีอาการอึดอัดในอกเหมือนมีของทับอก หายใจไม่ค่อยออก เหมือนหอบ ชามือชาเท้า มึนและเวียนศีรษะ รู้สึกหมดเรี่ยวแรงจนเหมือนจะขยับเขยื้อนตัวไม่ได้

สำหรับใครที่อยากลองดูว่าผีอำเป็นอย่างไร ลองหายใจเข้าออกยาวๆเร็วๆให้เหมือนหอบสักพักหนึ่ง ก็จะรู้สึกมึนศีรษะ มือชา หน้ามืด ฯลฯ พอกลั้นหายใจสักครู่ก็จะหาย เพราะกรดคาร์บอนิคจะเพิ่มขึ้นมาเป็นปกติ

คนร้องไห้มากๆสะอึกสะอื้นหายใจเข้าออกยาวๆเร็วๆก็จะมีอาการเช่นเดียวกัน ยิ่งร้องมากยิ่งชาไปทั้งตัว มึนศีรษะ หน้ามืดเป็นลมไปได้ ก็เพราะเหตุผลเดียวกันนี้

ใครถูกผีอำบ่อยๆ ควรจะได้ตรวจรักษาเรื่องจิตใจและอารมณ์เลวร้ายของตัวเอง จิตใจตัวเองนั่นแหละ เป็นผีที่อำตัวเอง

มเหสักข์

ตามความหมายแปลว่า เทวดาผู้ใหญ่ [1] แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีความเชื่อว่า ผีมเหสักข์ คือวิญญาณของบรรพบุรุษที่คอยปกปักรักษาดินแดนถิ่นนั้น (คล้ายกับพระภูมิเจ้าที่) ประเพณีการไหว้ผีมเหสักข์จะจัดตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ไปจนสิ้นเดือน 7 อันปรากฏในฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ มีการฉลองฟ้อนรำและการเข้าทรงด้วย [2] บางท้องถิ่นเช่นอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร จัดการไหว้ผีมเหสักข์ในช่วงมีนาคมถึงเมษายน [3]

ผีหัวขาด

คือคนที่ตายโดยที่ส่วนของศีรษะหลุดออกมาจากร่างกายเพราะส่วนของศีรษะนั้นประกอบไปด้วยอวัยวะสำคัญก็คือสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย สาเหตุของการเป็นผีหัวขาดก็คือถูกฟันคอด้วยดาบ ในสมัยโบราณจะมีการประหารนักโทษโดยการใช้ดาบตัดคอ หรือเกิดจากการสู้รบระหว่างสงครามถูกศัตรูตัดคอจึงกลายเป็นผีหัวขาด หรืออาจเกิดจากการประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน ถูกรถชน ถูกกระจกบาดคอขาด หรือด้วยสาเหตุอื่นๆ

ผีหัวขาด เป็น ผีตายโหง ประเภทหนึ่ง

ในปี พ.ศ. 2545 มีการทำภาพยนตร์ในชื่อ ผีหัวขาด นำแสดงโดย ต๊ะ วงบอยสเกาต์

ตำนานผีฟ้า

ชาวอีสานมีความเชื่อถือต่อ "ผี" มาก เพราะมีความเชื่อว่าเหตุที่เกิดเภทภัยเจ็บไข้ได้ป่วย น้ำท่วม ฝนแล้งนาล่ม หรือพืชพันธุ์ ธัญญาหารเหี่ยวแห้ง เป็นสิ่งที่เกิดมาจากอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของผีสางเทวดาทั้งสิ้น พวกเขาจึงเซ่นไหว้บวงสรวงผีต่างๆ และมีสิ่งที่หน้าสังเกตคือ ทุกครั้งที่มีการเซ่นไหว้เป็นประจำทุกๆ ฤดูกาล แล้วจะเกิดแต่ความสุขไปทั่ว ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยก็หาย ข้าวกล้าในนาก็อุดม สมบูรณ์ดี และการที่มีคติความเชื่อดังกล่าวนี้ ก็ทำให้เกิดประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีหลายลักษณะ และพีธีบูชา ผีฟ้า ก็เป็นอีกพิธีหนึ่ง

ผีฟ้า หรือ ผีแถน นั้น ชาวอีสานมีความเชื่อว่าเป็นเทวดามากกว่าเป็นผี ผีฟ้าจึงเป็นผีที่อยู่ระดับสูงกว่าผีชนิด อื่นๆ ส่วนแถนนั้น มีความเชื่อว่าเป็นคำเรียกรวมถึงเทวดา และแถนที่ใหญ่ที่สุดคือ "แถนหลวง" ซึ่ง เชื่อว่าเป็นพระอินทร์ ผีฟ้าหรือผีแถนนั้นแต่ละพื้นที่มีการเรียกที่แตกต่างกันไป และมีความเชื่อว่า ผีฟ้า นั้นสามารถที่จะ ดับยุคเข็ญหรือทำลายล้างอุปสรรคทั้งปวงได้ และสามารถที่จะช่วยเหลือมนุษย์ที่เดือดร้อนได้ การที่มนุษย์เกิดการเจ็บป่วยนั้นเนื่องจากไปละเมิดต่อผี การละเมิดต่อบรรพบุรุษ การรักษาต้องมีการเชิญผีฟ้ามาสิงสถิตอยู่ในร่างของคนทรง เรียกว่า "ผีฟ้า นางเทียน" ในการลำผีฟ้าของชาวอีสานนั้นมีองค์ประกอบ ทั้งหมด ๔ ส่วนคือ หมอลำ ผีฟ้า หมอแคน ผู้ป่วย และเครื่องคาย

หมอลำผีฟ้า จะ เป็นผู้หญิงที่มีอายุหรือบางท้องถิ่นจะเป็นผู้หญิงสาว โดยเฉพาะที่จังหวัดเลย และจะต้องสืบเชื้อสายมาจาก กลุ่มหมอลำผีเท่านั้น แต่ที่จริงผีฟ้าสามารถสิงได้ทั้งหญิง ชาย และเด็ก โดยไม่จำกัดอายุ หมอแคน (หมอม้า) จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการเป่าแคนมาเป็นอย่างดี เพราะในการประกอบพิธีจะต้องใช้เวลานาน จะต้องมีการเป่าอยู่ตลอดเวลา ส่วนผู้ป่วยนั้น จะต้องแต่งกายตามที่ได้กำหนดไว้ คือ มีผ้าไหมหรือผ้าขาวม้าพาดบ่า มีดอกมะละกอ ซึ่งตัดร้อยเป็นพวงทัดหู ผู้ป่วยนั้นสามารถที่จะฟ้อนรำกับหมอลำได้.. และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ เครื่องคาย เป็นสิ่งที่อัญเชิญครูอาจารย์ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วมาช่วยเหลือ รักษาผู้ป่วย

ในการรำผีฟ้านั้น จะมีความแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เมื่อครูบาเก่าเข้าสิงร่าง ผู้ทำพิธีจะต้องสวมผ้าซิ่นทับผ้าที่สวมอยู่ (กรณีที่ผู้ป่วยเป็นชาย) หรือถ้าผู้ป่วยเป็นผู้หญิงครูบาจะสวมผ้าแพรหรือผ้าฝ้าย โดยสวมทับผ้านุ่งเดิม ซึ่งจะจัดไว้อยู่ใกล้เครื่องคาย ในการรักษาทุกคนจะต้องฟ้อนรำ กันทุกคน และขึ้นอยู่กับผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยต้องการดูการฟ้อนรำก็จะทำหน้าที่ต่อไป แต่ถ้าไม่ต้องการ ครูบาก็จะนำเครื่องคายขึ้นไปเก็บบนหิ้ง และจะมาร่วมกันรับประทานอาหาร

ความ เชื่อของชาวอีสานเชื่อว่า ผีฟ้าสามารถที่จะกำหนดการเกิดการตายของมนุษย์ได้ การที่มนุษย์ตายไปขวัญจะออกจากร่าง เพื่อไปพบบรรพชน แต่ขวัญจะไม่แตกดับเหมือนร่าง เป็นเพียงการจากไปของร่างแต่วิญญาณยังคงอยู่กับผู้มีชีวิต สาเหตุที่มีการฟ้อนรำกันนั้น ก็เพื่อเป็นการทำให้คนไข้มีพลังจิตในการต่อสู้กับการเจ็บป่วย มีอารมณ์ผ่อนคลาย ความตึงเครียด จิตใจปลอดโปร่ง ไร้วิตกกังวล และสร้างจิตสำนึกด้านความกตัญญู เป็นคตินิยมของวัฒนธรรมไทย ซึ่งได้สืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็น ประเพณี จะเห็นว่าผีฟ้านั้น เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์ โดยมีคติเตือนใจว่า "คนไม่เห็น ผีเห็น"

สำหรับ ทุกวันนี้ การรำผีฟ้าดูจะเสื่อมคลายลงไป เพราะความเจริญทางด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่สำหรับ ชาวอีสานบางกลุ่ม การกระทำพิธีกรรมเกี่ยวกับผีฟ้า ไม่ใช่เป็นสิ่งงมงายเหลวไหล

ผีพราย

ส่วนใหญ่มีถิ่นที่อยู่อยู่ในน้ำมากกว่าบนบก พราย เชื่อกันว่าเป็นจิตวิญญาณชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กสุด (ลำดับของดวงจิตวิญญาณที่สามารถปรากฏให้รับรู้ได้ คือ พราย ภูติ ผี ปีศาจ)ส่วนใหญ่มักมีที่มาจากการหมักหมมของซากพืชหรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆดวงจิตวิญญาณนี้มักแสดงตน(มีลักษณะเป็นดวงไฟเรืองแสง)เพื่อหาสถานะที่อยู่โดยเข้าทดแทนในบางส่วนของร่างมนุษย์ สัตว์ซึ่งถือว่าดีกว่าสถานะเดิม(สิงสู่)ด้วยการหลอกล่อให้ยอมรับ ลุ่มหลง

ผีพรายส่วนมากจึงมักปรากฏร่างเป็นผู้หญิง นางไม้ บางทีก็จัดเข้าพวกผีพรายได้เช่นกัน เช่น พรายตะเคียน พรายตานี เป็นต้น หรือแม้แต่ผีทะเล หรือผีน้ำ ก็จัดเป็นพรายด้วยเช่นกัน เช่น พรายทะเล พรายน้ำ แต่ว่าพรายน้ำที่เป็นฟองผุดๆ ขึ้นจากน้ำนั้น เป็นคนละอย่างกัน

นอกจากนี้ ในเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ยังปรากฏผีพรายด้วย คือโหงพราย แต่ในเรื่องขุนช้างขุนแผน คาดว่าน่าจะเป็นผีผู้ชายมากกว่า

ผีทะเล

เชื่อกันว่าเป็นวิญญาณของคนที่ตายในทะเล ผีทะเลปรากฏให้เห็นในหลายลักษณะ อาจจะมาเป็นรูปลักษณ์ของคนเดินลากปลาตัวใหญ่ขึ้นมาจากทะเลในตอนกลางคืนบ้าง (ถูกปลากินตาย) หรือขึ้นมาบนเรือในยามกลางคืนขณะที่ชาวประมงออกเรือหาปลาบ้าง ผีทะเลที่ขึ้นบนเรือนี้ มักจะมาในลักษณะเป็นดวงไฟสว่างอยู่บนเสากระโดงเรือ และชาวประมงเชื่อกันว่าถ้าผีทะเลได้ไต่ขึ้นเกาะบนเสากระโดงเรือแล้ว จะทำให้เรือลำนั้นอัปปางลง[ต้องการอ้างอิง]





ภาพวาดแสดงปรากฏการณ์ St. Elmo's Fireปรากฏการณ์ผีทะเลอย่างหลังนี้ ชาวตะวันตกเรียกว่า เปลวเพลิงแห่งเซนต์เอลโม (St. Elmo's Fire) เป็นปรากฏการณ์ที่ไฟฟ้าสถิตย์ในอากาศไหลลงสู่ที่ต่ำโดยผ่านวัตถุต่างๆ เช่นเสากระโดงเรือ มักจะเกิดในวันที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง

ในวรรณคดีไทยเอง ก็มีการกล่าวถึงผีทะเลเอาไว้เช่นกัน ก็คือ "นางผีเสื้อสมุทร" ในวรรณคดีเรื่อง "พระอภัยมณี" ของกวีเอกแห่งสยาม สุนทรภู่ นั่นเอง ซึ่งนางผีเสื้อสมุทรเป็นยักษ์ที่มีอิทธิฤทธิ์อำนาจมาก และเป็นใหญ่ที่สุดในบรรดาภูตผีทั้งมวลที่สิงสู่อยู่ในท้องทะเล[ต้องการอ้างอิง]

ในปัจจุบัน คำว่าผีทะเลยังใช้เป็นคำด่าหรือคำตำหนิได้ด้วย[ต้องการอ้างอิง] แต่จะออกแนวน่ารักเสียเป็นส่วนมาก เช่นผู้ชายที่เจ้าชู้ ทำรุ่มร่ามกับผู้หญิง อาจถูกด่าว่า "คนผีทะเล" หมายความว่าคนที่หน้าตาเหมือนผีมากมาย

ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5&oldid=2768205".